1.ปิณโฑล (ปางประทับกวาง)

"จะอยู่ในโลกนี้ต้องผูกมิตร จับมือกันมุ่งสามัคคีธรรม"

พระอรหันต์ ปินโฑล ปางประทับกวาง สื่อระหัสแห่งธรรมะถึงการมีอุดมไมตรีจิต ผูกมิตรมุ่งสามัคคีธรรม ทำให้แม้สัตว์เดรัจฉานที่มักตื่นตระหนกกลัวทุกสิ่งแปลกหน้าที่เคลื่อนไหวง่าย ยังรักใคร่ให้ความไว้วางใจ ยอมตัวรองรับเป็นที่นั่งให้ได้ ด้วยมั่นใจว่าไม่เป็นอันตรายต่อตนเอง 
เกิดเป็นคน หรือ มนุษย์ในโลกธาตุนี้ ต้องมีสหายที่ดีเป็นบารมีคุ้มครอง จึงจะพออาศัยกันอยู่รอดไปได้ดี เป็นความจริงมากๆ เกิดมาคนเดียว เวลาตายไปก็ตายคนเดียว หรืออาจจะเกิดมาทีเดึยวสองคนพร้อมกัน เช่นฝาแฝด แต่ก็มักจะตายทีละคนก่อน ตายคนละเวลาคนละวันไป




 

2.กนกวัชฉ (ปางหรรษา)

"สรรพธรรมล้วนเป็นหนึ่ง"

พระอรหันต์กนกวัจฉ  ปางหรรษา จะเห็นว่ามีเครื่องประดับพู่ห้อยอยู่ที่มือขวา มือซ้ายชี้นิ้วหนึ่ง สื่อระหัสแห่งธรรมะถึงการการเห็นแจ้งในพระธรรมว่าเป็นประหนึ่งบันเทิงธรรมบรรลุเอกจิต 
ชี้นิ้วหนึ่ง - สรรพธรรมเป็นหนึ่ง จิตหนึ่ง - หรือ - เอกจิต
ธรรมะว่า "โลกีย์ เป็นของคู่ (คู่- กฏทวินิยม)"

 

 

3.จูฑะปันถก (ปางชูบาตร)

"สัตบุรุษถือพรหมวิหารธรรม โปรดสัตว์"

พระอรหันต์ จูฑะปันถก ปางชูบาตร สื่อระหัสธรรมถึง การมีเมตตากรุณา ถือพรหมวิหารธรรมโปรดสรรพสัตว์ ซึ่ง พรหมวิหารธรรม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของผู้ประเสริฐ อันได้แก่ เมตตา, กรุณา, มุทิตา และ อุเบกขา พระอรหันต์ใช้ เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา  โปรดสรรพสัตว์นั่นเอง

4.ราหุล (ปางอุ้มพระเจดีย์)

"สัตบุรุษต้องมีคุณธรรมมั่นคง  ดั่งพระเจดึย์ให้เขากราบไหว้"

พระอรหันต์ราหุล ปางอุ้มพระเจดีย์ สื่อระหัสแห่งธรรมะถึง การมีคุณธรรมมั่นคงดังพระเจดีย์ให้เขากราบไหว้
ถ้าเป็นพระทั้งกายและใจได้แล้ว ย่อมจะไม่มี "โลภะ โทสะ โมหะ" หรือ โลภ โกรธ หลง เหมือนดังปุถุชนคนโลกีย์

5.นกุล (ปางกระทำสมาธิ)

"หยุดทะเลาะกัน ทำสมาธิฝึกจิต ค้นพบตัวเองก่อน"

พระอรหันต์นกุละ ปางกระทำสมาธิ สื่อระหัสธรรมะถึง การวอนมนุษย์ให้อย่ามัวเอาแต่ทะเลาะกัน หันมาดีกันเพื่อสันติสุข โดยการทำสมาธิฝึกจิต ค้นพบตัวเองก่อน   เมื่อค้นพบตัวเองความขัดแย้งก็จะไม่เกิดขี้น เห็นความจริงว่า  ที่สุดทั้งมิตรและศัตรูก็ตายหมด แพ้ตรงนี้ สู้หันมาอยู่่รอดร่วมกันด้วยมิตร มีเมตตา กรุณา สามัคคีธรรมจะดีกว่า สุขสงบเย็นมีเพื่อนทางใจระยะยาวนานๆ จะมั่นคงดีแล.............สาธุ

6. ภัทร (ปางข้ามคงคา)

"เห็นแจ้งโลก  ฝ่าข้ามโอฆสงสาร"

พระอรหันต์ ภัทระ  ปางข้ามคงคา สื่อระหัสธรรมะถึง การเห็นแจ้งโลก ฝ่าข้ามโอฆสงสาร ซึ่งแปลว่า การวนเวียนอยู่ในภพด้วยอำนาจโอฆกิเลส การท่องเที่ยวอยู่ในโอฆกิเลส ( นั่นคือให้พยายามปฏิบัติธรรมเพื่อให้หลุดพ้น กาม ภพ ทิฐิ อวิชชา ซึ่งเปรียบเทียบกับการข้ามแม่น้ำนั่นเอง) เพื่อให้ดับทุกข์ได้ทั้งสิ้น
มหาภูตรูป 4 ยึดมั่นนักเป็นทุกข์ 
ขันธ์ 5 ว่าง ทุกข์ทั้งปวงจะดับหมด

7. กาลิก (ปางประทับช้าง)

"สัตบุรุษเมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว จิตว่างดังบรรเทิงธรรมชาติ"

พระอรหันต์กาลิก ปางประทับช้าง สื่่อระหัสแห่งธรรมะถึงการมีจิตหลุดพ้น จิตว่างดังบรรเทิงธรรมชาติ
ถ้านักศึกษาธรรมะผู้ใด ไม่ท้อถอย มุ่งมั่นในการเจริญธรรม จนได้ผ่านด่านมาจนถึงด่านนี้ได้แล้ว ก็คือได้รู้แจ้งทางจิตใจมาก และบรรลุแจ้งถึงธรรมกายตนมาก เข้าถึงพุทธจิตตนมาก  ผลบุญตรงนี้ทำให้มีสติปัญญาควบคุมอารมณ์ตนเอง ให้อยู่ในสายกลางได้มาก รู้กรรมวิธีปรับตัว วางตัวอยู่ในสังคม เข้ากับธรรมชาตินั้นได้ทุกๆ สภาวะ เป็นแบบจิตว่าง บรรเทิงธรรมชาตินั้นเองแล.......สาธุ

8. ปันถก (ปางหยอกสิงห์)

"ฝึกจิต-หยอกล้อกิเลส เห็นแจ้งอริยสัจจ์"

พระอรหันต์ปันถก ปางหยอกสิงห์ สื่่อระหัสธรรมถึงการปราบอกุศลมูลสาม (มูลเหตุสำคัญแห่งการประพฤติชั่ว โลภะ โทสะ โมหะ) ซึ่งร้ายดั่งสิงโต เมื่อจิตสงบจะเห็นแจ้งอริยสัจจ์

สิงห์ในที่นี้หมายถึงอะไร หมายถึงกิเลสมูลเหตุสำคัญแห่งการประพฤติชั่ว อันได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ เราไม่สามารถหยอกเล่นกันมันได้เพราะมันน่ากลัว แต่พระอรหันต์หยอกล้อกับกิเลสเป็นการฝึกจิตนั่นเอง

9. อชิต (ปางเปิดดวงใจ)

"บอกธรรมอยู่ในกาย สอนพุทธะอยู่ในจิต"

พระอรหันต์อชิต ปางเปิดดวงใจสื่อระหัสแห่งธรรมะถึงการมีหัวใจพระบอกธรรมอยู่ในกาย สอนพุทธะอยู่ในจิต
เมื่อควบคุมจิตใจตนเองได้บ้างแล้ว จะเห็นแจ้งว่า ธรรมะอยู่ในกายตน จะรู้แจ้งว่าพุทธะอยู่ในจิตตน
(รู้พระธรรมไปครึ่งตู้)..........สาธุ

10. นาคเสน (ปางชูมือ)

"ตื่นจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน"

พระอรหันต์นาคเสน ปางชูมือจะเห็นว่าดูแล้วคล้ายคนเพิ่งตื่นบิดขี้เกียจ สื่อระหัสแห่งธรรมะถึงการการขจัดกิเลส ตัณหาอุปาทานให้หมดไป ตื่นจากอวิชชารู้แจ้งเห็น

11. สุปาถะ (ปางรำพึง)

"สัตบุรุษมีหน้าที่เจริญสมาธิ สอนสมถะ และวิปัสสนา"

พระอรหันต์ สุปากะ ปางรำพึง สื่่อระหัสธรรมะ ถึงการถึงพร้อมด้วยวิปัสนาญาณ เจริญสมาธิ สอนสมถะ (วิปัสสนา แปลว่า รู้แจ้งเห็นจริง) สอนว่าการเรียนรู้ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น นอกจากเจริญสมาธิแล้วยังต้องเจริญวิปัสสนาด้วยถึงจะบรรลุมรรคผลโดยเร็ว

12. กนกภารัทวา (ปางแคะหู)

"เป็นมนุษย์อย่าหูเบา"

พระอรหันต์กนกภารัทวา ปางแคะหู หลับตาข้างหนึ่ง (close one eye) สื่อระหัสแห่งธรรมะถึงการที่พระอรหันต์มิหูเบา ไม่รับรู้เรื่องราวอันวุ่นวายของโลก สอนว่ามนุษย์เราบางครั้งปิดหู-ปิดตากับเรื่องบางเรื่องเสียบ้าง จะได้ทุกข์น้อยลง  เห็นคนอื่นทำอะไรไม่ถูกใจก็อย่าเอามาเป็นอารมณ์ทุกเรื่อง แต่บางทีก็ทำได้ยาก หรือว่าเราไม่ตั้งใจทำจริง

13. อิงคท (ปางถือถุงย่าม)

"สัตบุรุษปิติใจอยู่สันโดษ   ยินดีในสิ่งที่ตนมีและตนได้"

พระอรหันต์อิงคท ปางถือถุงย่าม จะเห็นว่ามีถุงย่ามสะพายบ่าอยู่ด้านซ้าย สื่อระหัสแห่งธรรมะถึงการมีปิติใจในสันโดษ ยินดีในสิ่งที่ตนมีตนได้ หรือความพอเพียงนั่นเอง หากมีความยินดีในความพอเพียงก็สามารถบรรลุธรรมได้

14. วันวาสี (ปางประทับหนุนคัมภึร์)

"เกิดเป็นคนต้องหมั่นพัฒนาจิตวิญญาณ"

พระอรหันต์วันวาสี ปางประทับหนุนคัมภีร์ สื่อระหัสธรรมะถึงการศึกษาธรรมะจากพระคัมภีร์และพระไตรปิฎก สอนว่า
เกิดเป็นคนจะต้องหมั่นศึกษาธรรมะพัฒนาจิตวิญญาณให้สูงไว้ก่อน แสวงหาสิ่งที่เป็นบุญเป็กุศล นักศีกษาธรรมะจะต้อฝฃงมีใจเปิดกว้าง ศึกษาพระคัมภีร์ธรรมต่างๆ ของทุกลัทธินิกาย เอาแต่คุณประโยชน์ในธรรมเป็นอุดมคติ มีจิตใจกว้างขวางหนักแน่นในการบำเพ็ญบารมี

15. สุปิณฑ (ปางคิ้วยาว)

"สังสารวัฏยาวไกล พึงหาทางฝึกจิตให้หลุดพ้น"

พระอรหันต์ สุปินฑเ ปางคิ้วยาว สื่อระหัสแห่งธรรมะถึงการเห็นแจ้ง ภพ ชาติ จิต เป็นสุญญตาถึงพระนิพพาน สุญญตาหมายถึงสภาวะที่ว่างจากความเป็นตัวตนหรืออัตตา ได้แก่ เบญจขันธ์ ธาตุ อายตนะ ในทางพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้รู้จัก สุญญตา คือความว่าง มุ่งถึงความว่างกิเลส และว่างทุกข์ซึ่งเกิดจากกิเลส ว่างบาปอกุศลทุจริต ก็เป็นการว่างจากความทุกข์เพราะเกิดจากบาปอกุศลทุจริต
มี "ภพ-ชาติ"แล้ว จะต้องมีกรรมที่วนเวียนในวัฏฏสงสาร ต้องหากรรมวิธีทำให้หลุดพ้นจาก "ภพ-ชาติ" จิตว่างจากการวนเวียนในวัฏฏสงสาร จิตว่างจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน "หมดชาติ - ขาดภพ - นิพพาน"

16. วัชรบุตร (ปางถือไม้เท้าขักขระ)

"ถือธุดงค์ เทศนาธรรม ดุลถ่วงโลกให้สงบเย็น"

พระอรหันต์วัชระบุตร ปางถือไม้เท้าขักขระ สื่อระหัสแห่งธรรมะถึงการถือธุดงค์กรรมฐานเป็นวัตร 
นักบวชแท้จริงเป็นดุลถ่วงโลกให้สงบเย็น
เห็นความจริงว่า โลกนี้จะอยู่รอดสงบเย็นได้ จะต้องอาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันตั้งอยู่ อาศัยกันแตกดับสลายไป ต้องแผ่เมตตากรุณาจิต ผูกมิตร ปลูกบุญสัมพันธ์กันไว้บ้าง 
เรายังไม่หมดกิเลส ตัณหา อุปาทาน ยังต้องวนเวียนในภูมิที 6 ยังจะต้องพบกันอีก 
[ไม้เท้าขักขระนี้ บนยอดมีโลหะ มีช่องเป็นวงกลมสำหรับร้อยแหวนโลหะ เมื่อเขย่าจะเกิดเสียง เวลาเดินทางในป่า จะทำให้จำพวกสัตว์เลื้อยคลานหลีกหนีไป]

17. นนทิมิตร (ปางปราบมังกร)

"ปุถุชนจิตเกิดดับร้ายดั่งมังกร" 

พระอรหันต์ นนทิมิตร ปางปราบมังกร สื่่อระหัสแห่งธรรมะถึงปุถุชนจิตเกิดดับร้ายดั่งมังกร ต้องใช้อุบายปราบกิเลส จิตสงบเย็นดังพบดวงแก้ว

18. ปันถะโล ปิณโฑล (ปางปราบเสือ)

"โลภะ - โทสะ - โมหะ ร้ายดั่งเสือ"

พระอรหันต์ปันถะโล ปิณโฑล ปางปราบเสือ สื่อระหัสแห่งธรรมะถึง ต้องเอาธรรมะกำราบจิตเดิมที่ชั่วร้ายดั่งเสือให้สงบ จนรู้แจ้งอนุสัยเดิม - จิตสว่างไสว 
ปุถุชนคนโลกีย์ ในวันหนึ่งๆ มักปล่อยให้จิตเกิดแต่ "โลภะ-โทสะ-โมหะ" ต่างๆ ถ้าเขารู้แจ้งสัจจธรรมดีแล้ว จะเห็นว่ามันร้ายกว่าเสือที่กินสัตว์กัดคน
ปราบด้วย ศีล-สมาธิ-ปัญญา  จิตสงบเย็น - มองดูโลกกว้างเหมือนพบดวงแก้ว คือ พุทธะ
จิตของปุถุชนคนโลกีย์ เหมือนดัง "มังกร"     อนุสัย(สันดาน)ของคนเหมือนดัง "เสือ"

18 อรหันต์ ที่วิหารเซียนชุดนี้ เป็นชุดที่ได้รับมอบจากรัฐบาลกวางเจา ศิลปินเน้นรายละเอียดในส่วนของเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ สีหน้า สัดส่วน และกิริยาท่าทางที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึก ของพระอรหันต์แต่ละรูป ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่ได้เคยทำมา โดยงานศิลปกรรมเครื่องปั้นดินเผาชุดนี้เน้นการใช้สีของเนื้อดินธรรมชาติที่มีเฉพาะที่มณฑลกวางตุ้งเท่านั้นใช้เวลาในการทำประมาณ 2 ปี

 

อนึ่งคำว่า 18 อรหันต์หลายคนเข้าใจว่าเป็นท่าทางในการฝึกสมาธิหรือกำลังภายในของเส้าหลิน  แต่ 18 อรหันต์ในที่นี้ เป็นอรหันต์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีชื่อปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในคัมภีร์ธรรมสถิต

 

ที่มา : ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑ์วิหารเซียน

รงเจเอี่ยงเม้งเก็ง 

 

____________________________________________________________________________

 

มหายาน – หินยาน

พระพุทธศาสนาทั้งสองนิกายได้ยืนหยัดควบคู่กันมาตลอด อุปมาปีกทั้งสองของนกที่ต้องผสานกันจึงจะโผบินไปไกลเหนือจรดใต้ คืออุตตรนิกายและทักษิณนิกายที่ช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก และดั่งคำที่ว่าเถรวาทสร้างความมั่นคง มหายานสร้างความกว้างไกล เป็นต้น ดังนั้นหากข้อวัตรปฏิบัติ หลักธรรม และประวัติศาสตร์ทางศาสนาของนิกายอื่นๆ จะเผยแพร่สู่เพื่อนต่างนิกายด้วยแล้ว ย่อมก่อเกิดคุณูปการไพศาล ยังให้มีความเข้าใจระหว่างกัน ได้ร่วมกันศึกษา และแก้ไขปัญหา นำพาพระศาสนาให้รุ่งเรืองสถาพรไปพร้อมกัน

    พระเทพภาวนาวิกรม