.

…..ระหว่างทางที่จะไปสู่พระนิพพาน เราจะต้องประสบพบเจอกับอะไรบ้าง? ขอพระพุทธองค์โปรดจงเมตตาแสดงธรรมอธิบายสิ่งนี้ที่ลูกสงสัยและจะเกิดประโยชน์แก่ลูกทั้งหลายมาก ให้ลูกได้ฟังด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า!….

(องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า)

สิ่งที่ 1 ที่เราจะต้องเผชิญผ่านพ้น ก็คือ “กรรมวิบาก”ของเรา

บุญ  ก็คือ มาร  

บาป ก็คือ มาร

ทุกข์…. ก็จะกีดขวางเรา

สุข…… ก็จะกีดขวางเรา

เราก็จงระวังให้ดีก็แล้วกัน พระยาธรรม!

ทั้ง 2 แบบนี้ คือ ผลของกรรมที่เราเคยก่อ เคยทำเอาไว้ ตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันวันนี้ จะส่งผลกลับมาคอยทดสอบ

  • สิ่งที่ดี ก็มีพิษอยู่ในนั้น
  • สิ่งที่ไม่ดี ก็มีทั้งคุณและโทษอยู่ในนั้น

เรานี้จะสามารถฟันฝ่าข้ามผ่านทั้ง 2 บททดสอบนี้ไปได้หรือเปล่า?

นี้แหละ พระยาธรรมเอย! คือสิ่งที่เราจะต้องเผชิญผ่านพ้นเมื่อเราจะไปสู่พระนิพพาน

กรรมดีส่งผล ก็ทดสอบเรา ทดสอบว่า ยึด หรือว่า ละ การวาง หรือว่า แบกไว้ ทดสอบความลุ่มหลง จมอยู่ในกรรมดีนั้น

  • บางคนก็ติดอยู่กับบุญที่ส่งผลมา ติดสุข สบาย ก็ไปไหนไม่ได้
  • บางคนก็ทุกข์ จนไม่สามารถที่จะไปต่อบนเส้นทางแห่งพระนิพพานได้

ลูกเอ๋ย! ฉะนั้น ให้เราระมัดระวังให้ดี ผลของกรรมที่เราได้ก่อได้ทำ ย่อมจะส่งผลมาทั้ง 2 แง่ 2 มุม

เราได้ตั้งมั่นตั้งใจเอาไว้แล้ว มันจะส่งผลมาในรูปแบบใดก็ตาม เราก็จงสักแต่ว่าเห็น   เห็นว่ามันคือกรรมที่เราได้ก่อได้ทำส่งผลมา แล้วก็จงประคับประคองจิตของตนในปัจจุบันนี้ ให้พยายามทำแต่สิ่งที่ดี

  • อะไรไม่ดีที่กระทบกลับคืนมาจากผลกรรมเก่า เราก็เอาไปสร้าง ไปทำในสิ่งที่ดี หรือว่าให้มันเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
  • อะไรที่ดีแล้ว ที่เราได้เคยสร้างเคยทำ และส่งผลมา เราก็จงน้อมอาไปสร้างไปทำให้เกิดประโยชน์ ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

เราจงอย่าปล่อยตัวของเรา ให้จมให้หลงอยู่กับสิ่งสมมติทั้งหลาย ที่กำลังหมุนรอบเข้ามา

 ……จงฝึกจิตของตนให้นิ่งเฉย ให้วางเฉย ให้ว่างจากสิ่งทั้งหลายที่มันส่งผลมา………….

เพราะแท้ที่จริงแล้ว กรรมทังหลายไม่ใช่ตัวตนของเรา คือสิ่งที่อำนาจแห่งกิเลสตัณหาสั่งให้เขาทำ และในที่สุด เขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็จะดับไป

เรายึดถือเอามาเป็นตัวเรา เป็นตนของเรา มันไม่ได้ลูก! เราเป็นแต่เพียงดวงจิต ที่จะต้องขัดเกลาตนเองให้สว่างไสว เพื่อไปสู่พระนิพพาน

ซ้ำการที่เราไปยึดเอาถือเอากรรมทั้งหลายมาเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ย่อมจะเป็นการทับถมครอบงำดวงจิตให้หนาทึบเข้าไปอีก ให้จิตมันมืดมิดกลับสู่ความลุ่มหลงอีก

ฉะนั้น ลูกเอ๋ย! ให้เห็นเพียงสักแต่ว่า เท่านั้นแหละลูก! และจงตั้งใจกำหนดจิตของตน  ให้ทำแต่ในสิ่งที่ดี ต่อจากนี้ไปมุ่งตรงสู่พระนิพพาน!

ต่อไปสิ่งที่  2 ที่เรานี้จะต้องเอาชนะให้ได้ ก็คือ การเอาชนะอำนาจแห่ง “กิเลสตัณหา”  ที่มันครอบงำจิตใจชองเราอยู่ ณ ปัจจุบัน อาจจะทำให้เราหลง เราเกิดเชื้อที่ครอบงำทำให้เราไม่สามรถทำความดีได้ ทำให้เราหลงอยู่ ทำให้เราเกิดเชื้อแห่งความรัก ความโลภ ความโกรธ

เชื้อเหล่านี้ คือ กิเลส ที่จะครอบงำจิตใจของเรา………..

มันคือสิ่งที่เราก็จะต้องข้ามผ่านไปให้ได้ ระหว่างการไปสู่พระนิพพาน เราจะต้องข้ามพ้นไปให้ได้ ลูกเอ๋ย! จะต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งแน่วแน่ โดยอาศัยกรอบแห่ง ศีล ธรรม สมาธิ ปัญญา เป็นหลักแห่งการยึด …………..

ฉะนั้นลูกเอ๋ย! จงฝึกฝนวางใจเฉย ให้ใจของเรานั้นมีพลังให้มาก มีสติให้มาก จิตของเราก็จะมีพลังมากพอ ที่จะเอาชนะทั้ง “กรรมวิบาก” และ “กิเลสตัณหา” ได้ จนในที่สุดเราก็จะสามารถเข้าสู่การรู้ตื่นรู้แจ้งในสรรพสิ่งทั้งหลาย ถึงในขั้นที่ 3 ก็คือ เห็นกรรมก็สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าดู ดูตามเหตุของมัน แล้วก็เห็นมันดับไปตามเหตุของมัน จิตนั้นหลุดลอยอยู่เหนือกรรม ไม่ยึดไม่ถือ ไม่แบกอะไรไว้เป็นเรา เป็นของเราอีกต่อไป……………..

จิตของเราจึงถึงซึ่งพระนิพพานได้ลูก!………….

เราเพียงแค่ดับเหตุความเป็นเราให้ได้ เราก็จะถึงซึ่งพระนิพพาน ซึ่งเป็นการทวนกระแสของชีวิต

<< ไขประตูพระนิพพาน >>

 

ลูกทั้งหลายเอ๊ย! ในความเป็นจริงแล้ว ดวงจิตของเราก็แค่หลุดเข้าไปอยู่ในตะรางอันใหญ่ คุมด้วยกฎเหล็ก 2 อย่าง คือ “กฎแห่งกรรม” และ “กฎของความไม่เที่ยงแท้”

แล้วก็มีสิ่งทดสอบให้เราต้องเล่นเกมนั้นให้ผ่าน จึงจะออกจากกรงเหล็กกรงขังนั้นได้ ก็คือ เชื้อแห่งกิเลส คือความหลง ความโลภ ความรัก และความโกรธ ตามมาด้วยเชื้อแห่งตัณหา คือความอยาก และความไม่อยาก

เมื่อเรามีความรู้แจ้งรู้ตื่น และประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่เหนือสิ่งเหล่านี้ ทำคะแนนความดีให้มาก ยกจิตตนให้มีสติปัญญา อยู่เหนือ ความหลง ความรัก ความโลภ และความโกรธ เมื่อไร เราก็จะสามารถอยู่นอกกรงขังได้ เราก็จะสามารถอยู่เหนือกฎเหล็ก คือกฎของความไม่เที่ยงแท้ กฎแห่งกรรม เราก็จะไม่มีวันตายอีกต่อไป เราก็จะไม่ต้องทำอะไร เพื่ออะไรอีกต่อไป เราก็จะไม่ต้องจมอยู่เป็นทาสแห่งกิเลสตัณหาอีกต่อไป เช่นนี้แหละลูก!

ง่ายๆ ก็คือ เราต้องรู้ทุกข์เสียก่อน รู้ทุกข์ ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด ต้องเห็นให้แจ้ง เข้าใจให้จบว่าวัฏสงสารเป็นกรงขังอันใหญ่ปกคลุมไว้คือ “ความไม่เที่ยงแท้” และ “กฎแห่งกรรม” สิ่งที่ครอบงำเรา ให้เราต้องอยู่เหนือมันให้ได้คือ “กิเลสและตัณหา” เราต้องฟันฝ่ามันให้ได้ด้วยการอยู่ในกรอบของ ศีล ธรรม สมาธิ และปัญญา ฝึกฝนตนให้มากเช่นนี้ลูกเอ๋ย! เมื่อเราฝึกฝนตนให้มากเช่นนี้ เราก็จะสามารถที่จะออกจากกรงขังนั้นได้ลูก!

สิ่งทั้งหลายในวัฏสงสารนั้น ไม่มีอะไรเป็นของเรา ลูกเอ๋ย! แม้แต่ร่างกายของเราก็เป็นเพียงแค่ผลของกรรม เราทำกรรมดีบ้าง ไม่ดีบ้าง มันเลยส่งผลให้เราได้กายที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ตามกรรมของตน กายนี้คือผลของกรรม ชะตาชีวิตของเรา ก็เป็นไปตามกรรมที่เราทำเอาไว้ ก็คือผลของกรรม สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่เป็นเพียงแค่สิ่งสมมติมีมา เพื่อหลอกล่อเราให้หลงกับสิ่งเหล่านั้น แท้ที่จริงแล้วทุกสิ่งนั้นเป็นเพียง “ภาพลวงตา”

ในความเป็นจริงแล้ว จิตของเราก็เป็นเพียงแค่ดวงจิตหนึ่ง

ดวงจิตหนึ่งนั้น ก็คือ “ผู้รู้” เท่านั้น ไม่ใช่ผู้สุขหรือผู้ทุกข์ สุขหรือทุกข์ คือกิเลสและตัณหา คือ “มายา” สิ่งหลอกลวง หลอกล่อ

จิต คือ “ผู้รู้” เท่านั้น ลูกเอ๋ย!

รู้สักแต่ว่ารู้ ดูสักแต่ว่าดู รู้ตื่นรู้แจ้ง ไม่มีตัวตน ไม่มีอัตตา ไม่มีกิเลสตัณหาใดๆ เกี่ยวข้องด้วยจิต

…...จิตเป็นเพียงแค่ความว่างเปล่า สักแต่ว่ามี สักแต่ว่าเป็นดวงจิต  ….ว่าง  ว่าง และไม่ว่าง สักแต่ว่าเป็นอีกเช่นเดียวกัน จะว่ามีก็เหมือนไม่มี จะว่าไม่มีก็เหมือนว่ามี..……….

จิตนั้นเป็นเพียงแค่ผู้ที่อยู่เหนือคำว่า “มี” และ “ไม่มี” จิตนั้นอิสระ เหนือทุกสิ่งและทุกอย่าง ละเอียด สบาย เบา ว่าง ไม่มีอะไรเป็นตัวตน ไม่มีอะไรเป็นกิเลส เป็นตัณหา ไม่มีอะไรทั้งนั้น จิตนั้นตั้งมั่นอยู่ในความนิ่งเฉย ความสุข สุขที่เป็นสุขแบบนิพพานสุข ที่อยู่เหนือความเป็นความมีทั้งปวง

ลูกทั้งหลายเอ๋ย!   จงตั้งใจประพฤติปฏิบัติฝึกฝนตนให้เห็นทุกข์ ตั้งใจฝึกฝนตน นำพาตนออกจากทุกข์

จงฝึกจิตให้เห็นจิต แล้วยกระดับจิตให้เหนือคำว่า “มีจิต” อีก แล้วลูกจะเข้าใจคำว่า”นิพพาน”

พยายามฝึกฝน ถอดถอนกิเลสตัณหา ด้วยการรักษาศีล ฟังธรรม ภาวนา ฝึกฝนตนไปเรื่อยๆ เช่นนี้ อย่างนี้ล่ะ แล้วลูกก็จะเป็นหนึ่งในดวงจิตที่สามารถหลุดออกจากกรงขังกรงเหล็กอันใหญ่ สามารถที่จะข้ามพ้นทะเลทุกข์ได้ลูก!

<< ประตูทางออกจากวัฏสงสาร >>

 

ลูกทั้งหลายเอ๋ย! ประตูทางออกจากสังสารวัฏ คือ “ความว่างเปล่า”

ความว่างเปล่าเท่านั้น จึงจะออกไปจากวัฏสงสารได้

ความว่างเปล่า คืออะไร?

คือ ไม่มีสักสิ่งสักอย่าง ไม่มีเรา ไม่มีของเรา ไม่มีจิต ไม่มีกายไม่มีอะไรทั้งนั้น ปล่อยวาง  ปล่อยให้ว่างๆ สลายความยึดติด ความยึดถือในจิตในกาย สลายอัตตาทั้งหมดนั้นไป

เมื่อเราสลายสิ่งต่างๆ เหล่านั้นไปได้แล้ว เราก็จะว่าง ว่างไปจากทุกสิ่งทุกอย่าง

ทีนี้จะสลายได้อย่างไร? การที่เราจะสลายสิ่งทั้งหมดทั้งปวงที่มีอยู่ได้ เราต้องเห็นเหตุของทุกข์ รู้จักทุกข์ เมื่อเราเห็นเหตุของทุกข์แล้ว เราก็จะปรารถนาออกจากกองทุกข์

………………………………

จิตดวงนี้ เมื่อถอดถอนจากความลุ่มหลงทั้งหลายแล้ว ก็ต้องถอดถอนจากความยึดมั่นในจิตอีก ว่าเป็นจิตเรา ของเรา

สลายสิ่งสมมติทั้งหลายจากเราไป สลายความเป็นเราไป สลายจิตที่ว่าเป็นของเราไป สลายทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนควันขาวๆ ออกไปจากสังสารวัฏนี้

……สลายจิต สลายกาย สลายสิ่งประกอบต่างๆ ทั้งหลายเหล่านั้น ให้เหลือแต่ลม เหลือแต่ความว่างเปล่า …….ว่าง…….. ความว่างเท่านั้น ที่จะนำพาออกจากวัฏสงสารได้

ฉะนั้น จงพิจารณาให้เห็นความทุกข์ในวัฏสงสาร เห็นความที่มันไม่เที่ยง เห็นสิ่งสมมติทั้งหลาย เข้าใจในมัน และสลายตัวตน สลายจิต ให้ว่าง…….

….ว่างจากสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น แล้วออกจากความทุกข์นั้นมาเถิด ชีวิตจะไม่ทุกข์อะไรอีกเลย ชีวิตจะว่างเปล่า ว่างเว้นจากสรรพสิ่ง……

…………………………………………………………………

…….บุคคลผู้ปรารถนาจะทำความสะอาดในพื้นที่ที่ไม่มีขอบเขตให้สะอาดเหมือนดังใจปรารถนา บุคคลผู้นั้นย่อมตายแล้วตายเล่าก็ยังไม่สามารถทำสิ่งที่ตนนั้นจะทำให้ได้ให้สำเร็จเลย ลูกเอ๋ย!

ฉะนั้น การประพฤติปฏิบัติที่เกิดผลได้อย่างรวดเร็ว จึงควรที่จะตีอาณาเขตของการฝึกฝนไว้เพียงแค่ที่กาย ที่เวทนา ที่จิต และที่ธรรม โดยเฉพาะในตัวของเรานี่แหละลูก!

พิจารณาในกายของเรา ดูเราให้รู้เรา ให้เห็นเรา และให้เรานี้เข้าใจในเรา ถือว่าใช้ได้ลูก!

เมื่อเราดูเรา เมื่อเรารู้เรา เราเห็นเรา เราเข้าใจในเรา แจ่มแจ้งขึ้นมาเมื่อไร เมื่อนั้นแหละลูก การปฏิบัติของเราเกิดผลแล้ว เมื่อนั้นแหละลูก การปฏิบัติของเราจึงจะมีโอกาสที่จะทำจนจบกิจและสำเร็จได้ลูก!

ฉะนั้นบุคคลผู้ปรารถนาให้การประพฤติปฏิบัติฝึกฝนของตนนั้นสำเร็จอย่างรวดเร็ว จึงควรพิจารณาเฉพาะตน เฉพาะเรื่องของตน ……………(อ่านเพิ่มเติม) .……………………………

…ทางสายกลาง…..

…..หาความเป็นกลางให้เจอ…

…..เราเป็นใคร แสวงหาอะไร …

<< รู้จักทางลัดกลับสู่พระนิพพาน >>


.

  …………เวลามันไม่ได้มีมากนักหรอกพระยาธรรม!
จงทำในสิ่งที่ควรทำเถิดนะ คือดูที่จิตของตน ทำที่ตนดีกว่า
เวลามันมีแค่นิดเดียว ถ้าเราเลือกเดินทางถูก เราก็จะรู้…..
รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ด้วยการมีปัญญาอย่างแจ่มแจ้ง…………
เราเดินทางลัด ย่อมถึงพระนิพพาน แม้จะมีเวลาเพียงแค่นิดเดียว
ทางลัดก็คือการดูที่ตน….
ดูในวงแคบ ดีกว่าดูในวงกว้าง ลูกเอ๋ย!
ดูวงแคบ เพราะ วงแคบในตัวเรานั้น ก็เป็นสิ่งแทนวงกว้างทั้งหมดลูก!
มันไม่มีความแตกต่างอะไรกันมากเท่าไร

………………………………………………………………………………………………………

จงเดินตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการดับกิเลสในตนเถิด
รู้เหตุที่เกิดตน แล้วก็รู้เหตุที่ดับตน
เมื่อดับตนได้แล้ว ย่อมเข้าใจสรรพสิ่งทั้งหลาย เช่นนี้แหละพระยาธรรม!
บุคคลผู้มีปัญญาธรรมแล้ว เขาย่อมเดินทางลัด เดินอยู่ในกรอบเฉพาะตน เช่นนี้แหละลูก!
เขาจะไม่เสียเวลาไปยุ่งไปดูสิ่งที่มันกว้างภายนอก ไปจมอยู่ ยึดอยู่ ติดอยู่ หรอกลูกเอ๋ย!
เขาจะแค่”ดูที่จิต”ของเขาเท่านั้นหละ พระยาธรรม!

ผ่านบททดสอบ 

(โดยก่รดูไปที่จิต ฝึกจิตให้เป็นพุทธะ)

 

 

 

…..เมื่อถึงเหตุที่ลูกนั้นจะต้องทำสิ่งใดที่เป็นความดี แม้สิ่งเหล่านั้นจะเป็นความดีภายนอกก็จงตั้งใจทำไป…………..

………..เมื่อไรที่ลูกจะต้องเจอกับสิ่งกระทบต่างๆ ซึ่งมันเป็นบททดสอบในจิตใจ มันคือการทำดีภายในจิตใจว่าเราจะพิจารณาข้ามผ่านมันไปได้หรือไม่? เราก็ต้องค่อยๆ คิดพิจารณาและทำบททดสอบทำความดีมันให้ได้ลูก!

ความดีภายนอก ความดีภายใน สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเพียงสิ่งที่กระทบเข้ามา เป็นเหตุเกิดขึ้นมาเพื่อขัดเกลาดวงจิตของตนให้บริสุทธิ์ ให้สะอาด ให้สว่างไสว รู้แจ้ง รู้ตื่น เข้าใจทุกข์ในวัฏสงสาร เพื่อให้จิตของลูกได้หลุดพ้น รู้ตื่น รู้แจ้ง เท่านั้นล่ะลูก!

ไม่ว่าลูกนั้นจะต้องได้ทำความดีมากเพียงใดก็ตาม ทั้งภายนอกทั้งภายใน จงน้อมเอาเข้ามาดูในจิตใจของตน และจงขัดเกลาสิ่งที่มันยังไม่ดี สิ่งที่มันยังมัวหมอง เศร้าหมองอยู่ในใจของตน ขัดเกลาไปเรื่อยๆ คือจะโดนกระทบจากเรื่องอะไร จะต้องทำอะไรก็ตามลูกเอ๋ย! จงจำเอาไว้ว่า สำคัญที่สุดก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในจิตของเราต่างหากเล่า จิตของเราทุกข์หรือเปล่า ทุกข์แล้วเป็นยังไง เห็นทุกข์แล้วเป็นยังไง ถูกกระทบแล้วเป็นยังไง ทำดีแล้วเป็นยังไง เรารู้สึกยังไงบ้าง รู้สึกสุขปีติ แล้วติดในปีติสุขนั้นไหม? หรือว่าสักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าทำ ทำไปแล้วถูกกระทบหนัก ยังท้อ ยังทุกข์ ยังเหนื่อย อยู่ไหม? หรือว่าเป็นยังไง?

อะไรก็ตามลูกเอ๋ย! ทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมในวัฏสงสารนี้ จงจำเอาไว้ว่า มันเป็นเพียงแค่สิ่งที่สอบจิตของเราเท่านั้นนะลูก! จิตเราเท่านั้นที่ถูกทดสอบว่าจะปนเปื้อน พัวพัน หรือว่าจมอยู่ใต้อำนาจของสิ่งเหล่านี้หรือไม่?

ลูกทั้งหลายเอ๊ย! ฉะนั้นต่อจากนี้ไป จากที่ลูกนั้นก็อดทนทำความดี อดทนละการทำความชั่วได้แล้ว ลูกทั้งหลายก็จงมองดูความดีและความชั่ว มองดูสิ่งกระทบทั้งหลาย ว่าเกิดปฏิกิริยาอะไรกับจิตของตนบ้าง และจงเฝ้าดูจิตของตนอยู่เสมอ รู้ตัวอยู่ตลอด คอยดูสิ่งกระทบ ดี-ไม่ดี ทั้งหลายที่กระทบเข้ามา ถูกใจ-ไม่ถูกใจ ทำได้-ทำไม่ได้ ทุกข์กายทุกข์ใจ คลื่นทั้งหลายที่กระทบเข้ามานั้น จงฝึกดูจิตของตนนะลูกเอ๋ย!

เมื่อลูกทั้งหลายทำความดีได้สมบูรณ์ดีแล้ว ก็จงน้อมเอาความดีที่ทำทั้งหลายเหล่านั้น เข้ามาฝึกจิตของตน ฝึกให้อยู่เหนือทั้งการยินดี อยู่เหนือทั้งการยินร้าย ฝึกให้จิตเห็นสภาวะทีขับเคลื่อนอยู่ภายนอก ที่กระทบเข้ามานั้นได้อย่างชัดเจน และถูกต้องตามความเป็นจริง นี่แหละพระยาธรรม! คือสิ่งที่ลูกทั้งหลายจะต้องน้อมไปฝึกฝน และทำตาม(เป็นสิ่งแรก

ต่อไปขั้นที่สอง สิ่งที่สอง  ก็คือห้หมั่นฝึกจิตของตนด้วยการพาจิตของตนให้น้อมพลัง ชาร์จพลังให้จิตนั้นตั้งมั่นสงบอยู่บ่อยๆ ลูก!

ฝึกจิตให้นิ่ง ฝึกจิตให้อยู่เฉยๆ ฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่น ฝึกไปเช่นนั้น อย่างนั้น   คือไม่ว่าเราจะเจอกับอะไรก็ตาม เราต้องฝึกจิตของเราให้นิ่ง ฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่น น้อมพลัง ชาร์จพลังให้ได้ ให้จิตของเรานั้นนิ่งไม่สั่นไหวไปตามสิ่งกระทบต่างๆ และจิตของเราก็จะมีปัญญา มีแสงสว่างมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะดูรู้ เราก็จะเข้าใจ เราก็จะเห็นสิ่งทั้งหลายตามสภาวะความเป็นจริง

ลูกเอ๋ย! ฝึกจิตให้นิ่ง นั่นแหละคือสิ่งที่ลูกควรจะทำให้มากนะ! เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญนัก หากลูกต้องลงสู่โลกเผชิญกับสัจธรรมของวัฏสงสาร คือ เจอกับปัญหา เจอกับทุกข์ เจอกับความยินดี เจอกับความไม่ยินดี เจอกับปัญหา และสรรเสริญ เจอกับสิ่งอะไรมากมายบนโลก ลูกก็จะได้นิ่ง วางเฉย มีสติรู้ตาม

ลูกทั้งหลายเอ๋ย! ลูกจงตั้งจิตของตนให้นิ่งอยู่เสมอๆ นะลูก! หมั่นทำพลังเช่นนี้ แล้วลูกนั้นจึงจะสามารถ ประคอง รักษาจิตของลูกให้ตั้งมั่นไม่โดนกระทบได้

ต่อไปข้อที่สาม หรือ สิ่งที่สาม ที่ลูกควรทำก็คือ จงระลึกรู้เอาไว้ว่าจิตที่อ่อนแอ ย่อมต้องพ่ายแพ้ต่อกิเลสตัณหา กรรมวิบาก สิ่งรุมเร้าต่างๆ จิตที่เข้มแข็งย่อมสามารถเอาชนะได้ทุกสิ่งทุกอย่าง

ฉะนั้นการที่เรานี้ฝึกหัดทำความดีแล้ว ฝึกหัดละความชั่วแล้ว เราก็จงฝึกน้อมเอาความดีความชั่วเหล่านั้น มาแก้ไขปรับเปลี่ยนจิตของเราให้เป็นไปในทิศทางที่ดี ขัดเกลาจิตของเราให้ดี ให้ละสิ่งที่ไม่ดีให้ได้เรื่อยๆ ให้จิตของเรานี้สะอาดสว่างขึ้นเรื่อยๆ และฝึกจิตของเราให้มีพลังตั้งมั่น ให้มีกำลังให้มากที่สุด เพื่อจะมองเห็นสภาวธรรมต่างๆ  ตามความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่ง อย่างไม่กระเพื่อม ไม่เคลิ้มตามสิ่งกระทบทั้งหลายเหล่านั้น

แล้วลูกทั้งหลายก็จงฝึกจิตของตนจนถึงจุดที่จิตของลูกทรงพลังมาก จิตของลูกมีพลังที่แข็งแกร่ง สว่างไสว รู้ตื่น รู้เท่า รู้ทัน เห็นแจ้งตามความเป็นจริงอย่างพุทธะ  ลูกทั้งหลายก็จะสามารถเป็นผู้ที่ชนะต่ออำนาจแห่งกิเลสตัณหา ดับการเกิดแห่งตนได้ ลูกทั้งหลายก็จะถึงซึ่งบรมสุขอย่างแท้จริง อยู่ในเมืองแก้วเมืองนิพพาน ที่ที่พ้นจากความทุกข์นิรันดร

ลูกทั้งหลายเอ๊ย! ค่อยๆ ฝึกและตรึกตรองพิจารณาขัดเกลาจิตตนเช่นนี้ เมื่อทำดี จงเอาความดีมาพิจารณาชำระจิตแห่งตนลูก! และจงตั้งมั่นจิตนั้นให้มีพลังแข็งแกร่งมั่นคง

เมื่อมีพลังแข็งแกร่งมั่นคงแล้ว ย่อมต้องมีชัยชนะต่อสิ่งกระทบทั้งหลาย  สิ่งที่ 3 ก็คือ การรวมเอา สิ่งที่ 1และ สิ่งที่ 2   มาทำให้ก่อเกิดผลแก่ตนอย่างแท้จริงนั่นแหละลูก!

จงตั้งใจฟัง ตั้งใจน้อมปฏิบัติตาม ตั้งใจพิจารณาให้เห็นตาม ให้รู้เท่ารู้ทันกิเลสตัณหา สิ่งกระทบทั้งหลาย ลูกเอ๋ย! ในโลกใบนี้ ในวัฏสงสารนี้ มีอะไรเยอะแยะมากมายให้เราทำ จนไม่รู้ว่ามันมากแค่ไหน แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันก็มีให้เราทำเพียงแค่ทำเพื่อกลับมาขัดเกลาจิตของตนแค่นั้นแหละลูก! เมื่อกิจภายในคือการทำจิตใจของตนให้เป็นพุทธะ เป็นผู้ที่บรรลุถึงซึ่งพระนิพพานเมื่อไร กิจการงานทั้งหลายที่เราต้องทำก็จบลง

เมื่อเรานี้ไม่สามารถที่จะขัดเกลากิเลสตัณหาในใจตนได้ แม้จะบวชเป็น 100 พรรษา ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ไม่ทำให้เรานั้นหยุดที่จะทำงานอะไรได้เลย การดิ้นรนขวนขวาย การที่ยังคงต้องมีต้องเป็น ต้องทำ  ยังต้องเกิดขึ้นกับเราลูกเอ๋ย!

ฉะนั้นกิจที่สำคัญที่สุดก็คือ การน้อมเอาสิ่งกระทบ สิ่งที่ทำ สิ่งที่มี ที่เป็นต่างๆ ทั้งรูปธรรมนามธรรม กระทบเข้ามาเป็นรูปหรือเป็นนาม เราก็จงเอามาขัดเกลาจิตของตน เท่านั้นแหละลูก!

ฝึกในตน ทำอะไรก็ตามให้น้อมมาฝึกในตน ฝึกให้ตนนั้นรู้เท่ารู้ทัน รู้อารมณ์สิ่งกระทบ และฝึกจิตให้อยู่นิ่ง ฝึกจิตให้รู้ตื่น ให้เข้มแข็ง ให้ชนะสิ่งกระทบทั้งหลาย เพียงเท่านี้ล่ะพระยาธรรมเอ๋ย!

ลูกทั้งหลายย่อมจะเป็นผู้มีชัยเหนือหมู่มารทั้งหลายในวัฏสงสารเป็นแน่แท้ พอจะเข้าใจบ้างแล้วหรือยังเล่าพระยาธรรมเอย! จงกล่าวธรรมนั้นมาเถิดพระยาธรรม!

.

 

…….เราจึงควรที่จะฝึกฝนจิตของตนนะลูก! ฝึกฝนจิตของตนให้รู้จักวางเฉย ไม่ว่าจะเจอกับสุขหรือว่าเจอกับทุกข์ เราก็ต้องฝึกจิตของเรา ให้นิ่งเฉย วางเฉย ให้ได้มากที่สุด………

สุขเข้ามาเดี๋ยวก็จากไป ทุกข์เข้ามาเดี๋ยวก็จากไป แล้วก็เป็นธรรมดาลูก! ที่เขาจะหมุนวนกันไปเช่นนั้น เป็นเรื่องปกติ เมื่อเรายังอยู่ในวัฏสงสารนี้ เหมือนดังพระอาทิตย์ และดวงจันทร์ ที่มันก็ผลัดเปลี่ยนกันไป ชีวิตคนเราก็เป็นเช่นนั้นแหละลูก!

ฉะนั้นลูกทั้งหลาย ก็จงหมั่นฝึกจิตใจของคนให้นิ่งเฉย  ให้เป็นผู้อยู่อย่างปล่อยวาง อยู่อย่างรู้ตื่น วางจิตของตนให้นิ่งเฉย ฝึกเช่นนี้ อย่างนี้ ให้บ่อยๆ ลูก และขัดเกลาจิตของตนให้รู้ตื่นตามความเป็นจริงให้มากขึ้นเรื่อยๆ เรื่อยๆ ในทุกๆ วัน จนกว่าลูกนั้น จะมีปัญญามองเห็นทุกสรรพสิ่งตามเหตุตามปัจจัย ตามเหตุที่มันดำเนินไป……………

 

กรรมฐานหลวง  (กรรมฐานกองที่ ๔๑)

สมาธิ กองที่ ๔๑  ซึ่งเป็นสมาธิกองใหม่ในกึ่งพุทธกาล ที่ต่อยอดกรรมฐานทุกกอง ขึ้นสู่พระนิพพาน

เป็นการต่อยอดความดีให้ลูกทั้งหลาย และจะช่วยให้ลูกทุกคนได้มีปัญญารู้ตื่นตามความเป็นจริง ได้มีความนิ่งความสงบอย่างรู้ตื่น…..